ทีม-เกษตรสาร
Close Me!

ทีม-เกษตรสาร

ทีม-เกษตรสาร ปีที่ 6 ฉบับที่ 38 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างต่อเนื่องในระยะติดผลไปจนถึงระยะกา..

การใช้ผลิตภัณฑ์ ธาตุอาหารเสริมพืชกับพืชไม้ผล

  1. ธาตุอาหารเสริมพืชมีความสำคัญอย่างไร ?

ดินที่ใช้ปลูกพืชติดต่อกันมานาน เรามักจะพบบ่อยครั้งว่าพืชมีอาการขาดธาตุอาหารใด ธาตุอาหารหนึ่งหรือหลายธาตุของกลุ่มธาตุอาหารเสริมพืชเช่น ธาตุสังกะสี(Zn), ธาตุเหล็ก(Fe), ธาตุทองแดง(Cu), ธาตุแมงกานีส(Mn), ธาตุโบรอน(B), ธาตุโมลิบดินั่ม(Mo) เป็นต้น ในสถานการณ์ที่ดินขาดธาตุอาหารเสริมจะเป็นสาเหตุที่ทำให้การให้ธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซี่ยม) และธาตุอาหารรอง (แคลเซี่ยม, แมกนีเซี่ยม, กำมะถัน) กับพืชให้เกิดประสิทธิภาพได้ ถึงแม้ว่าพืชมีความต้องการธาตุอาหารเสริมในปริมาณน้อยมาก แต่ผลที่พืชขาดธาตุหรือการเกิดพิษกับพืชก็สามารถที่จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากเกี่ยวกับผลผลิตของพืชเช่นเดียวกับการขาด ธาตุอาหารหลักเช่นกัน

มีเหตุผลหลายประการที่เราจะต้องให้ธาตุอาหารเสริมพืชอย่างเพียงพอเพื่อการเจริญเติบโตของพืชเช่น

1. การให้ปุ๋ย (ธาตุอาหารหลัก) เพิ่มสูงขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิต ก็หมายถึงพืชจะต้องดูดใช้ ธาตุอาหารเสริมจากดินมากขึ้นด้วยเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำให้ธาตุอาหารเสริมในดินลดน้อยลงไป

2. ธาตุอาหารเสริมที่เคยมีปะปนกับปุ๋ยก็จะไม่มีอีกต่อไป ในกรณีที่เราเข้มงวดการวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ของปุ๋ย

3. พันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีผลผลิตต่อไร่สูงก็จะส่งผลไปยังการดูดใช้ธาตุอาหารเสริมจากดินออกไปใช้มากขึ้นด้วย

4. การปรับระดับหน้าดินก็จะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารเสริมที่มีอยู่หน้าดินไป พืชก็จะแสดงอาการขาดธาตุบริเวณดินที่ถูกถากออกไป

5. การใช้ฟอสฟอรัสสูงเกินไปไม่ว่าจะอยู่ในรูปของธรรมชาติหรือในรูปของปุ๋ย เราจะพบว่าในดินบริเวณนั้นจะนำไปสู่การขาดธาตุอาหารเสริมพืช พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริมจะมีผลอย่างเด่นชัดกับผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตพืชเช่นเดียวกับการขาดธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง เช่นเดียวกันเมื่อพืชได้รับธาตุอาหารเสริมมากเกินไปจนเกิดเป็นพิษ ก็จะมีผลให้ความเสียหายต่อผลผลิตละคุณภาพของผลผลิตพืชเช่นกัน การที่พืชขาดธาตุอาหารเสริมอย่างรุนแรงจะทำให้พืชสูญเสียผลผลิตได้ถึงร้อยเปอร์เซนต์

2. การบำรุงไม้ผลในระยะต้นเล็ก และไม้ผลทั่วไป

ไม้ผลในระยะต้นเล็กเริ่มปลูกใหม่ และไม้ผลทั่วไป มีความต้องการธาตุอาหารครบทุกหมู่ ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม เพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง สำหรับพืชไม้ผลที่เริ่มปลูกใหม่ในดินที่มีการปรับหน้าดิน หรือการนำเอาดินชั้นล่างขึ้นมาถมหน้าดิน ซึ่งอาจจะเป็นชั้นดินที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการปลูกพืช เช่น อินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารต่ำ สำหรับดินที่มีการปรับพื้นที่ ควรเติมอินทรีย์วัตถุ เช่นปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก รองพื้น เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างดิน จากนั้นจึงเติมธาตุอาหาร ในกลุ่มของธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม สำหรับพืชที่ปลูกมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วและไม้ผลทั่วไป ก็ยังคงต้องการธาตุอาหารในกลุ่มเดียวกันนี้เพื่อการเจริญเติบโต ตามระยะสามารถปฏิบัติได้โดยการให้ทางดินและเสริมเพิ่มด้วยการฉีดพ่นทางใบ ดังนี้

การใช้ธาตุอาหารพืชทางดิน

เป็นการเติมธาตุอาหารเพื่อการบำรุง สามารถใช้ได้ผลดีกับพืช ตั้งแต่ระยะเริ่มปลูก ไปจนถึงระยะให้ผลผลิตแล้ว สามารถใช้ได้ทุกระยะเหมาะกับพืชไม้ผลทุกชนิด โดยการปฏิบัติดังนี้

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร โดยผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1. ที.เค.- ซอยล์ 1                    1                    ลิตร

2. ที.เค.- ซอยล์ 2                    1                    ลิตร

3. ที.เค.- พลัส                         1                    ลิตร

4. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                  1– 1.5             ก.ก.

ฉีดพ่นหรือราดลงดิน บริเวณรากฝอย ขณะที่ดินมีความชื้น บริเวณรากฝอยให้ทั่ว ประมาณ 20-30 วัน/ครั้ง จากนั้นอีก 3-5 วัน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีตัวหน้าสูง(ไนโตรเจน) ตาม

การใช้ธาตุอาหารพืชทางใบ

เพื่อเป็นการเสริมเพิ่มความสมบูรณ์ ประสานการทำงานกับธาตุอาหารพืชทางดินให้เกิดประสิทธิภาพ โดยการฉีดพ่นทางใบ ดังนี้ 

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร ผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1. ไมโครมิกซ์ เอฟ                              200 - 300                     ซี.ซี.

2. ที.เค. - แคล (แคลเซียม พลัส)            200 - 300                     ซี.ซี.

3. อัลจินิน                                         200 - 300                     ซี.ซี

4. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                            200 - 300                     กรัม

ฉีดพ่นทางใบ 10-15  วัน/ครั้ง

 

3. การบำรุงเพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค ในพืชไม้ผล

โรคพืชหลายชนิดเกิดมาจากความอ่อนแอของพืชเป็นส่วนใหญ่ หรือ เกิดในสภาวะแวดล้อมของโรคที่มีการระบาดรุนแรงในขณะที่พืชอ่อนแอ ซึ่งโดยปกติตามธรรมชาติ พืชสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ หากมีธาตุอาหารอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะธาตุ สังกะสี(Zn), แคลเซี่ยม(Ca), โบรอน(B) และแมกนีเซี่ยม(Mg)  ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างการเจริญเติบโต, เพิ่มความสมบูรณ์- แข็งแรง, สร้างภูมิต้านทานต่อโรค ซึ่งสามารถใช้ได้โดยการให้ทางดิน โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ที.เค.- ซอยล์ 1 และที.เค.- ซอยล์ 2 และการฉีดพ่นทางใบ โดยการใช้ไมโครมิกซ์ เอฟ และ ที.เค.- แคล ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี

สาเหตุอีกประการ ที่ทำให้โรคพืชระบาดมาก คือ อาหารของเชื้อซึ่งก่อโรค ต้องการอาหารเช่นเดียวกันกับพืช ในกลุ่มของไนเตรทที่มีในพืช หากใช้ธาตุอาหารเพื่อเปลี่ยนไนเตรท เป็นกรดอะมิโนและโปรตีน เป็นอาหารให้กับพืช ลดการระบาดของเชื้อราลงได้ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้โดยการใช้ ซูเปอร์ดี ร่วมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อราให้เกิดประสิทธิภาพดีขึ้นดังนี้

อัตรา / น้ำ 200  ลิตร

1. ซูเปอร์ ดี                                          100                  ซี.ซี.

2. สารป้องกันกำจัดเชื้อรา (ตามอัตราแนะนำ)

3. ซูเปอร์ แอ๊คชั่น                                 60 -100           ซี.ซี.

4. การบำรุงต้นและใบหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตของพืชไม้ผล

หลังจากการให้ผลผลิตแล้ว พืชได้ใช้ธาตุอาหารที่สะสมมาไปกับการออกผลผลิต และต้องการธาตุอาหาร เพื่อการบำรุง สร้างการเจริญเติบโตต่อไป โดยในชั้นต้นนี้พืชต้องการธาตุอาหารเพื่อการแตกใบใหม่, ขยายลำต้น, ขยายระบบรากฝอย, เพิ่มความสมบูรณ์-แข็งแรง ซึ่งสามารถปฏิบัติได้โดยการใช้ธาตุอาหารพืชทางดิน และการฉีดพ่นทางใบ ดังนี้

การใช้ธาตุอาหารพืชทางดิน

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร ผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1. ที.เค.-ซอยล์ 1                                  1                      ลิตร

2. ที.เค.-ซอยล์ 2                                  1                      ลิตร

3. ที.เค.-พลัส                                       1                      ลิตร

4. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                              1-1.5                ก.ก.

นำไปฉีดพ่นหรือราดลงดิน ขณะที่ดินมีความชื้น 20-30 ต้น ( สำหรับต้นทุเรียน,มังคุดฯลฯ อายุประมาณ 7-10 ปี ) ประมาณ 20-30 วัน/ครั้ง ซึ่งสามารถใช้ต่อเนื่องได้ตลอดทั้งปี หลังจากนั้น 2-3 วันให้ใช้ปุ๋ยเคมี สูตรที่มีตัวหน้า, ไนโตรเจนสูง หรือปุ๋ยยูเรีย+สูตรเสมอ อัตรา 1:1 ตามขนาดต้นเพื่อสร้างการเจริญเติบโต

การใช้ธาตุอาหารพืชทางใบ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสง เพิ่มความสมบูรณ์ ประสานการทำงานกับธาตุอาหารทางดิน เตรียมความพร้อมในการสร้างใบใหม่ โดยการฉีดพ่นดังนี้

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร   ผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1. ไมโครมิกซ์ เอฟ                             300                  ซี.ซี.

2. ที.เค-แคล (แคลเซียม พลัส)             300                  ซี.ซี.

3. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                           300 - 400          กรัม

4. ซูเปอร์แอ็คชั่น                                100                   ซี.ซี.

ฉีดพ่นทางใบ 10-15 วัน/ครั้ง

5. การดึงใบอ่อน

การสร้างใบอ่อนชุดใหม่ที่มีคุณภาพ สามารถปฏิบัติได้โดยการใช้ธาตุอาหารทางดิน  เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ แล้วฉีดพ่นธาตุอาหารทางใบตามระยะเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของพืชให้ดีขึ้น ดังนี้

การใช้ธาตุอาหารพืชทางดิน

ให้เกิดความสมบูรณ์ โดยพืชสามารถดูดซับได้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง ดังนี้

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร  ผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1. ที.เค.-ซอยล์ 1                                  1                      ลิตร

2. ที.เค.-ซอยล์ 2                                  1                      ลิตร

3. ที.เค.-พลัส                                       1                      ลิตร

4. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                              1-1.5                ก.ก.

นำไปฉีดพ่นหรือราดลงดินขณะที่ดินมีความชื้น ประมาณ 20-30 ต้น 20-30 วัน/ครั้ง หลังจากนั้น 2-3วัน จึงให้ปุ๋ยเคมีตามโดยการใช้ปุ๋ยตัวหน้าสูง หรืออาจจะใช้ปุ๋ยยูเรีย+สูตรเสมอในอัตรา 1:1

การใช้ธาตุอาหารพืชทางใบ  เพื่อการดึงใบอ่อน การดึงใบอ่อนไม้ผล เพื่อการแตกใบอย่างสม่ำเสมอสามารถใช้ได้กับไม้ผลทุกชนิด ทั้ง ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ฯลฯ โดยการฉีดพ่นทางใบ ในระยะที่พืชพร้อมแตกใบใหม่ ดังนี้

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร

1. อัลจินิน                                           300 - 500                     ซี.ซี.

2. ทีเค ซี (สังกะสี)                               300 - 500                     ซี.ซี.

3. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                              300 - 400                     กรัม

4. ซูเปอร์แอ็คชั่น                                  60 - 100                      ซี.ซี.

คนให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดให้ทั่วทั้งต้น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

การบำรุงต้น-ใบ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์

หลังจากที่มีใบอ่อนออกมาแล้วทำให้ใบเขียว สมบูรณ์ ช่วยให้พืชดูดซับปุ๋ยไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ดี เพิ่มความแข็งแรง ต้านทานโรคโดยการฉีดพ่นทางใบ หลังจากที่แตกใบอ่อนแล้ว และสามารถฉีดพ่นเพื่อการบำรุงได้ทุกระยะของพืช

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร

1. ไมโครมิกซ์ เอฟ                              300 - 500                     ซี.ซี.

2. ทีเค แคล (แคลเซียมพลัส)                 300 - 500                     ซี.ซี.

3. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                             300 - 400                     กรัม

4. ซูเปอร์แอ็คชั่น                                  60 - 100                       ซี.ซี.

ฉีดพ่นทางใบทุกๆ 10-15 วัน/ครั้ง

การเร่งให้ใบเข้าเพสลาดเร็วขึ้น

การทำให้ใบอ่อนเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยการเร่งให้เข้าเพสลาดเร็วขึ้น เพื่อการสร้างอาหารสร้างการเจริญเติบโตของอวัยวะทุกส่วนของพืชรวมทั้งการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้สม่ำเสมอดียิ่งขึ้น

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร

1. ไฮแมก                                               300 - 500             ซี.ซี.

2. ทีเค แคล (แคลเซียมพลัส)                       300 - 500             ซี.ซี.

3. ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46)           300 - 400             กรัม

4. ซูเปอร์แอ็คชั่น                                       60 - 100               ซี.ซี. 

*** ในการทำใบในชุดถัดไปก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้

6. การสะสมอาหาร เตรียมความพร้อมในการออกดอก

ในระยะที่ใบชุดสุดท้ายเริ่มเข้าเพสลาด ซึ่งจะเปิดใบชุดที่พืชใช้ในการสะสมอาหาร สร้างตาดอก เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารที่มีความสำคัญในระยะนี้ คือแคลเซียมและโบรอน ที่จะมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ส่งเสริมการออกดอก ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

การใช้ธาตุอาหารทางดิน

เพื่อสร้างความสมบูรณ์-สะสมอาหาร เตรียมความพร้อมในการออกดอก

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร         ผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1. ที.เค.-ซอยล์ 1                                   1                     ลิตร

2. ที.เค.-ซอยล์ 2                                   1                     ลิตร

3. เซอร์คอน                                          1                     ลิตร

4. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                                1- 1.5              ก.ก.

ฉีดพ่นหรือราดลงดินบริเวณรากฝอยขณะที่ดินมีความชื้น 20-30 ต้น  20-30 วัน/ครั้ง หลังจากนั้น 2-3 วัน จึงให้ปุ๋ยเคมีตาม

การใช้ธาตุอาหารทางใบ ชุดสะสมอาหาร- สร้างตาดอก

เพื่อการบำรุงใบอย่างสมบูรณ์ เพื่อสะสมอาหารในการออกดอก

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร      ผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1ไมโครมิกซ์ เอฟ                              300 - 500                     ซี.ซี.

2. ทีเค แคล (แคลเซียมพลัส)                300 - 500                     ซี.ซี.

3. ที.เค.-บูชเตอร์                               300 - 500                     ซี.ซี.

4. ปุ๋ยยูเรีย                                        300 - 400                     กรัม

5. ซูเปอร์แอ็คชั่น                                 60 - 100                      ซี.ซี. 

6. ยากำจัดโรค หรือแมลง (ถ้ามี)

ฉีดพ่นทางใบเพื่อการบำรุง 10-15 วัน / ครั้ง

โดยฉีดพ่นสลับกับชุดสร้างดอก ดังนี้

การสร้างตาดอก

            นิบจะเป็นศูนย์กลางของกลุ่มอาหารพืชที่สร้างตาดอกของพืชไม้ผล

 อัตรา  / น้ำ 200 ลิตร   ผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1. ซูเปอร์ดี                               100                              ซี.ซี.

2. โมฟรุท                                200-300                       ซี.ซี.

3. นิบ                                      100                              ซี.ซี.

4. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                  300 - 400                      กรัม

5. ซูเปอร์แอ็คชั่น                        60 - 100                      ซี.ซี.  

นำไปฉีดพ่นทางใบ 15-20 วัน / ครั้ง

7. การเปิดตาดอก

เพื่อให้พืชออกดอกได้สม่ำเสมอ เพิ่มปริมาณดอกออกในระยะใกล้เคียงกันได้มากขึ้น โดยการฉีดพ่นในระยะที่พืชมีความพร้อมในการออกดอก

อัตรา / น้ำ 200 ลิตร   ผสมให้เข้ากับน้ำทีละอย่าง

1. ที.เค-บูชเตอร์                                 300 - 500                     ซี.ซี.

2. ที.เค. – ซี (สังกะสี)                          300                             ซี.ซี.

3. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)                            300 - 400                     กรัม

4. ซูเปอร์แอ็คชั่น                                 60 - 100                      ซี.ซี.  

ฉีดพ่นทางใบและตามกิ่งที่มีตาดอก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 3-5 วัน

เนื้อหายังไม่จบนะครับ แล้วจะมาอัพเดทต่อ ต้องติดตามกันต่อไป ..