ทีม-เกษตรสาร
Close Me!

ทีม-เกษตรสาร

ทีม-เกษตรสาร ปีที่ 6 ฉบับที่ 38 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างต่อเนื่องในระยะติดผลไปจนถึงระยะกา..

พืชไม้ผลแตกใบอ่อนในระยะที่ออกดอกและติดผล

 การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเมื่อพืชไม้ผลแตกใบอ่อนในระยะที่ออกดอกและติดผล

ขณะที่พืชไม้ผลอยู่ในระยะออกดอกและติดผล จากตัวอย่างที่เห็นกันโดยทั่วไป เช่น ทุเรียน เป็นต้น ดอกทุเรียนที่ออกมามีมากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของใบ ดอกทุเรียนก็ย่อมต้องการอาหารเพื่อที่จะพัฒนาการเจริญเติบโตต่อไปจนถึงการติดผล ระยะตั้งแต่ออกดอกจนถึงสุกแก่ จะใช้อาหารค่อนข้างมาก ใบเป็นจุดศูนย์กลางที่เดียวเท่านั้นที่จะสร้างอาหาร และลำเลียงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆภายในต้น ถ้าธาตุอาหารที่ใบสร้างขึ้นเพียงพอ การเจริญของดอกไปจนถึงสุกแก่ก็จะไม่มีปัญหาหรือมีปัญหา เกี่ยวกับการร่วงของดอกและผลมากนัก มันเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เป็นปกติธรรมดา คือ ใบแก่ ละชุดที่ออกมา จะมีอายุการทำงาน คือ สร้างอาหาร ส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆภายในต้น เมื่อทุเรียนที่กำลังออกดอกและกำลังพัฒนาดอกไปสู่ระยะติดผล การสร้างอาหารของใบไม่พอส่งไปยังอวัยวะที่กำลังเจริญ ก็จะมีการแตกใบอ่อนเพิ่มเสริม ช่วยให้การสร้างอาหารมีพอเพียง แต่มีเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งคือ ระยะดังกล่าวมีฝนตกหรือสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้ทุเรียนสร้างใบอ่อนออกมา การแตกใบอ่อนเกิดจากสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ถ้าอาหารในดินมีพร้อมก็จะเกิดความเสียหายใดๆมากนัก แต่ถ้ารากดูดธาตุอาหารส่งไปยังใบไม่พอที่จะสร้างอาหารไปเลี้ยงใบอ่อนที่กำลังเกิดเพื่อทำให้ใบอ่อนเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยสร้างอาหารไปเลี้ยงทั้งดอกและผลรวมทั้งใบเดิม (ค่อนมีอายุ) ซึ่งกำลังขาดประสิทธิภาพในการสร้างอาหาร อาการที่พบเห็นในช่วงแตกใบอ่อน จะมีดอกร่วง ผลร่วง    ใบเก่าในเวลาต่อมาก็จะหลุดร่วง การเจริญของผล รูปทรงบิดเบี้ยว อาจจะร่วงก็ได้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมานี้ ชาวสวนจะกลัวกันมากเพราะเหตุว่าเป็นเรื่องที่แก้ไขยาก วิธีที่ใช้แก้ไขกัน ก็คือ

ทางทีม-เกษตร มีข้อแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา ดอกร่วง-ผลร่วง ที่ใช้ได้ผลดี โดยต้องใช้ทั้งทางดินและทางใบดังนี้
การใช้ธาตุอาหารทางดิน
เพื่อการบำรุงต้น-ใบ,ดอก-ผล ตามระยะให้มีการพัฒนาทุกส่วนอย่างสมบูรณ์ โดยการใช้
อัตราการใช้ / น้ำ 200 ลิตร
1. ที.เค.-ซอยล์ 1 1 ลิตร
2. ที.เค.ซอยล์ 2 1 ลิตร
3. เซอร์คอน    1 ลิตร
4. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1 กก.
ฉีดพ่น หรือราดลงดินขณะที่ดินมีความชื้น บริเวณรากฝอย 20-25 วัน / ครั้ง
การฉีดพ่นทางใบ
1. การเปิดตาดอก
ในกรณีที่ตาดอกเริ่มพัฒนา อาจจะเป็นดอกรุ่นหลังที่ต้องการเพิ่ม  เพื่อให้ดอกพัฒนาได้ดีขึ้นอย่างปลอดภัย แม้จะมีดอกหรือผลรุ่นอื่นๆดังนี้
อัตราการใช้ / น้ำ 200 ลิตร
       1.  ที.เค.-บูชเตอร์  300 – 500 ซีซี.
       2.  ที.เค.ซี (ธาตุสังกะสี) 300 ซีซี.
       3.  ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 300 -500 กรัม
       4.  ซูเปอร์แอ็คชั่น    100 ซีซี.
ฉีดพ่นให้ทั่วตาดอกและใบ 1-2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน / ครั้ง
2. ลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผล เร่งการเจริญเติบโต
ช่วยลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผล ทำให้การเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง หากฉีดพ่นในระยะก่อนดอกบาน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน จะช่วยให้การผสมเกสรติดผลดียิ่งขึ้น
อัตราการใช้ / น้ำ 200 ลิตร
       1.  ซูเปอร์ดี 100 ซีซี.
       2.  โมฟรุท  300 ซีซี. 
       3.  นิบ 100 ซีซี.  
       4.  ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 300 กรัม 
       5.  ซูเปอร์แอ็คชั่น 100 ซีซี.
ในกรณีแก้ปัญหาลดการหลุดร่วงของดอกและผลให้ผสมโมฟรุทกับปุ๋ยยูเรียให้ละลายก่อนนำไปผสมในน้ำ จะได้ผลดียิ่งขึ้น โดยฉีดพ่นไปยังดอกและใบ 3-5 วัน/ครั้ง
3. การบำรุงดอกและใบ
การบำรุงดอกและใบ เสริมประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง ประสานการทำงานกับธาตุอาหารทางดิน โดยการใช้
อัตราการใช้ / น้ำ 200 ลิตร 
        1. ไมโครมิกซ์เอฟ 300 ซีซี.  
        2. ที.เค.-แคล (แคลเซียมพลัส) 300 ซีซี.  
        3. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 300 กรัม   
        4. ซูเปอร์แอ็คชั่น 100 ซีซี.
ฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 10-15 วัน/ครั้ง
4. การเร่งใบอ่อนให้เข้าเพสลาดได้เร็วขึ้น
ในกรณีที่มีใบอ่อนออกแซม หรือมีใบอ่อนออกมาก ขณะที่ออกดอก-ติดผล ให้มีใบเข้มได้เร็วขึ้น ลดผลกระทบที่ตามมา โดยการใช้
อัตราการใช้  /  น้ำ 200 ลิตร  
        1. ไฮแมก 300 ซีซี. 
        2. ที.เค.แคล 300 ซีซี. 
        3. ไมโครมิกซ์ เอฟ 300 ซีซี.
        4. ปุ๋ย (13-0-46) 300- 400 กรัม   
        5. ซูเปอร์แอ็คชั่น 100 ซีซี.
ฉีดพ่นไปยังใบอ่อนในระยะที่ใบอ่อนเริ่มกาง 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน / ครั้ง
เมื่อเห็นว่าใบอ่อนเริ่มออกมา ก็จะใช้ปุ๋ยบ้างยาบ้างพ่น ทำให้ใบอ่อนแห้งตายหรือชงักการเจริญเติบโต เพราะว่าถ้าปล่อยให้ใบอ่อนเจริญเติบโต ใบอ่อนจะไปแย่งอาหารจากดอกหรือผลของทุเรียน เหตุผลของชาวสวนทุเรียนและวิธีแก้ไขโดยการทำลายใบอ่อนบางส่วนก็ใช้ได้ผลในระยะสั้น แต่ในระยะต่อมาก็จะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นอีก เช่น แตกใบอ่อนมากขึ้น มีผลร่วงผลแตก รวมไปถึงด้อยคุณภาพของทุเรียน 
สาเหตุของการร่วงของดอก ผล ของทุเรียน เมื่อมีการรัดใบอ่อน ก็คือ ใบเก่า มีอายุมากขึ้น การสร้างอาหารเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่พอเมื่อทุเรียนมีดอกเกิดขึ้น ตามธรรมชาติก็ต้องเกิดใบใหม่ออกมาทดแทนและช่วยใบเก่าสร้างอาหารให้เพียงพอแก่การเจริญเติบโต
แนวทางแก้ไขที่พิสูจน์มาเป็นที่ประจักษ์ของ ทีม-เกษตร คือส่งเสริมใบอ่อนให้เติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ใบอ่อนมีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการสร้างอาหารไปเลี้ยงดอก ผล ให้เติบโต จนเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยการให้อาหารเสริมทางดินและทางใบในช่วงแตกใบอ่อนทันที
การใช้ธาตุอาหารเสริมพืชทางดิน ( เพื่อการบำรุงใบอ่อน )
อัตรา / น้ำ 200 ลิตร
1. ที.เค.-ซอยล์ 1  1 ลิตร
2. ที.เค.-ซอยล์ 2 1 ลิตร
3. เซอร์คอน 1 ลิตร
4. ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 1 ก.ก.
ฉีดพ่นหรือราดลงดิน ประมาณ 20 ต้น บริเวณรากฝอยขณะที่ดินมีความชื้น 20-30 วัน/ครั้ง ควรรักษาความชื้นของดินบริเวณรากฝอยอยู่เสมอ จากนั้นอีก 2-3 วัน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวหน้าสูงหรือ ใช้ปุ๋ยยูเรีย+สูตรเสมอ อัตรา 1:1
การใช้ธาตุอาหารเสริมพืชทางดิน ( เพื่อการบำรุงใบอ่อนและผล )
อัตรา / น้ำ 200 
1. ที.เค.-ซอยล์ 1  1 ลิตร
2. ที.เค.-ซอยล์ 2 1  ลิตร
3. เซอร์คอน 1 ลิตร
4. ปุ๋ยยูเรีย 2 กก.
5. ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 2 ก.ก.
ฉีดพ่นหรือราดลงดิน ประมาณ 20 ต้น บริเวณรากฝอย ขณะที่ดินมีความชื้น 20-30 วัน/ครั้ง ควรรักษาความชื้นของดินบริเวณรากฝอยอยู่เสมอ จากนั้นอีก 2-3 วัน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวหน้าสูงหรือ ใช้ปุ๋ยยูเรีย+สูตรเสมอ อัตรา 1:1
การใช้ธาตุอาหารเสริมพืชทางใบ
เพื่อประสานการทำงานกับธาตุอาหารเสริมพืชทางดิน เป็นการบำรุง-ส่งเสริมความสมบูรณ์ตามระยะพืช หรือการแก้ปัญหาดังนี้
การแก้ปัญหาดอก-ผลร่วง
เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดอก-ผลร่วง บำรุงดอก-ผล เร่งการเจริญเติบโต
อัตรา / น้ำ 200 ลิตร
1. ซูปเปอร์ดี 100 ซี.ซี.
2. นิบ 100 ซี.ซี.
3. โมฟรุท 300-400 ซี.ซี.
4. ปุ๋ยยูเรีย ( 46-0-0 ) 300-400 กรัม
5. ยาเชื้อรา หรือยาฆ่าแมลง ( ถ้ามี )
6. ซูเปอร์แอ็คชั่น 60-100 ซี.ซี.
ฉีดพ่นไปยังดอกแล-ผล และใบให้ทั่ว เพื่อการบำรุง ลดการหลุดร่วง หากคาดการณ์ว่าอาจจะมีฝนตกหนักนอกฤดูกาล ควรฉีดพ่นก่อนและหลังฝนตก เพื่อลดการหลุดร่วงของดอกและผล จากการที่พืชได้รับน้ำมากเกินไป ในกรณีที่พืชมีการหลุดร่วงของดอกและผลให้ผสมโมฟรุทกับปุ๋ยยูเรียรวมกัน ให้ละลายก่อน จากนั้นจึงนำไปผสมกับน้ำ เพื่อฉีดพ่นจะให้ผล เพื่อลดการหลุดร่วงได้ดียิ่งขึ้น โดยฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 3-5 วัน / ครั้ง
การเร่งใบอ่อนให้มีสีเข้ม เข้าเพสลาดเร็วขึ้น
ในกรณีที่พืชมีการแตกใบอ่อนในระยะที่พืชกำลังออกดอก-ติดผล เพื่อเร่งใบให้มีสีเข้มเข้าเพสลาดได้เร็วขึ้น โดยเริ่มฉีดพ่นเมื่อใบอ่อนเริ่มกางพอรับน้ำยาได้
อัตรา / น้ำ 200 ลิตร
1. ไฮแมก 300 ซี.ซี.
2. ที.เค.แคล ( แคลเซียมพลัส) 300 ซี.ซี.
3. โพแทสเซียมไนเตรท ( 13-0-46 ) 300-400    กรัม
4. ซูเปอร์แอ็คชั่น.                    60-100    ซี.ซี.
ฉีดพ่นเมื่อใบอ่อนเริ่มกาง 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะทำให้ใบเข้าเพสลาดได้เร็วขึ้น
การบำรุงต้น-ใบ,ดอกและผล
ช่วยให้ใบสมบูรณ์ แข็งแรง ประสานการทำงานของธาตุอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง
อัตรา / น้ำ 200 ลิตร
1. ไมโครมิกซ์ เอฟ 200-300 ซี.ซี.
2. ที.เค-แคล ( แคลซียมพลัส ) 200-300 ซี.ซี.
3. ปุ๋ยยูเรีย ( 46-0-0 ) 300-400 กรัม
4. ยาเชื้อรา หรือยาฆ่าแมลง ( ถ้ามี )
5. ซูเปอร์แอ็คชั่น 60-100 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทางใบ 10-15 วันครั้ง

การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเมื่อพืชไม้ผลแตกใบอ่อนในระยะที่ออกดอกและติดผล

ขณะที่พืชไม้ผลอยู่ในระยะออกดอกและติดผล จากตัวอย่างที่เห็นกันโดยทั่วไป เช่น ทุเรียน เป็นต้น ดอกทุเรียนที่ออกมามีมากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของใบ ดอกทุเรียนก็ย่อมต้องการอาหารเพื่อที่จะพัฒนาการเจริญเติบโตต่อไปจนถึงการติดผล ระยะตั้งแต่ออกดอกจนถึงสุกแก่ จะใช้อาหารค่อนข้างมาก ใบเป็นจุดศูนย์กลางที่เดียวเท่านั้นที่จะสร้างอาหาร และลำเลียงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆภายในต้น ถ้าธาตุอาหารที่ใบสร้างขึ้นเพียงพอ การเจริญของดอกไปจนถึงสุกแก่ก็จะไม่มีปัญหาหรือมีปัญหา เกี่ยวกับการร่วงของดอกและผลมากนัก มันเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เป็นปกติธรรมดา คือ ใบแก่ ละชุดที่ออกมา จะมีอายุการทำงาน คือ สร้างอาหาร ส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆภายในต้น เมื่อทุเรียนที่กำลังออกดอกและกำลังพัฒนาดอกไปสู่ระยะติดผล การสร้างอาหารของใบไม่พอส่งไปยังอวัยวะที่กำลังเจริญ ก็จะมีการแตกใบอ่อนเพิ่มเสริม ช่วยให้การสร้างอาหารมีพอเพียง แต่มีเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งคือ ระยะดังกล่าวมีฝนตกหรือสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้ทุเรียนสร้างใบอ่อนออกมา การแตกใบอ่อนเกิดจากสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ถ้าอาหารในดินมีพร้อมก็จะเกิดความเสียหายใดๆมากนัก แต่ถ้ารากดูดธาตุอาหารส่งไปยังใบไม่พอที่จะสร้างอาหารไปเลี้ยงใบอ่อนที่กำลังเกิดเพื่อทำให้ใบอ่อนเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยสร้างอาหารไปเลี้ยงทั้งดอกและผลรวมทั้งใบเดิม (ค่อนมีอายุ) ซึ่งกำลังขาดประสิทธิภาพในการสร้างอาหาร อาการที่พบเห็นในช่วงแตกใบอ่อน จะมีดอกร่วง ผลร่วง    ใบเก่าในเวลาต่อมาก็จะหลุดร่วง การเจริญของผล รูปทรงบิดเบี้ยว อาจจะร่วงก็ได้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมานี้ ชาวสวนจะกลัวกันมากเพราะเหตุว่าเป็นเรื่องที่แก้ไขยาก วิธีที่ใช้แก้ไขกัน ก็คือ เมื่อเห็นว่าใบอ่อนเริ่มออกมา ก็จะใช้ปุ๋ยบ้างยาบ้างพ่น ทำให้ใบอ่อนแห้งตายหรือชงักการเจริญเติบโต เพราะว่าถ้าปล่อยให้ใบอ่อนเจริญเติบโต ใบอ่อนจะไปแย่งอาหารจากดอกหรือผลของทุเรียน เหตุผลของชาวสวนทุเรียนและวิธีแก้ไขโดยการทำลายใบอ่อนบางส่วนก็ใช้ได้ผลในระยะสั้น แต่ในระยะต่อมาก็จะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นอีก เช่น แตกใบอ่อนมากขึ้น มีผลร่วงผลแตก รวมไปถึงด้อยคุณภาพของทุเรียน

สาเหตุของการร่วงของดอก ผล ของทุเรียน เมื่อมีการรัดใบอ่อน ก็คือ ใบเก่า มีอายุมากขึ้น การสร้างอาหารเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่พอเมื่อทุเรียนมีดอกเกิดขึ้น ตามธรรมชาติก็ต้องเกิดใบใหม่ออกมาทดแทนและช่วยใบเก่าสร้างอาหารให้เพียงพอแก่การเจริญเติบโต

แนวทางแก้ไขที่พิสูจน์มาเป็นที่ประจักษ์ของ ทีม-เกษตร คือส่งเสริมใบอ่อนให้เติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ใบอ่อนมีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการสร้างอาหารไปเลี้ยงดอก ผล ให้เติบโต จนเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยการให้อาหารเสริมทางดินและทางใบในช่วงแตกใบอ่อนทันที