ทีม-เกษตรสาร
ทีม-เกษตรสาร ปีที่ 6 ฉบับที่ 38 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างต่อเนื่องในระยะติดผลไปจนถึงระยะกา..
ทีม-เกษตรสาร ปีที่ 6 ฉบับที่ 38 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างต่อเนื่องในระยะติดผลไปจนถึงระยะกา..
ทีม-เกษตรสาร ปีที่ 6 ฉบับที่ 38 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างต่อเนื่องในระยะติดผลไปจนถึงระยะกา..
ธาตุอาหารเสริมพืชมีความสำคัญอย่างไร ? ดินที่ใช้ปลูกพืชติดต่อกันมานาน เรามักจะพบบ่อยครั้งว่าพืชมีอาการขาดธาตุอาหา..
การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเมื่อพืชไม้ผลแตกใบอ่อนในระยะที่ออกดอกและติดผล ขณะที่พืชไม้ผลอยู่ในระยะออกดอกและติดผล ..
กระบวนการทำให้พืชไม้ผลออกดอกติดผล เลื่อนศักดิ์ วัฒนกุล ในต้นพืชมีกระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อให้เกิดพลังงานต่างๆ ทั้..
การบำรุงไม้ผลในระยะขยายผล โดยการใช้ธาตุอาหารเสริมให้เกิดประสิทธิภาพ พืชไม้ผลในระยะที่ติดผล มีความต้องการธาตุอาหารอย่า..
การบำรุงไม้ผลในระยะขยายผล โดยการใช้ธาตุอาหารเสริมให้เกิดประสิทธิภาพ
พืชไม้ผลในระยะที่ติดผล มีความต้องการธาตุอาหารอย่างต่อเนื่อง หากพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ หรือขาด จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต เช่น ผลชะงักการเจริญเติบโต,ผลร่วง อาการในทุเรียน เช่น ลูกบิดเบี้ยว,หนามแดง,ผลงอ ไปจนถึงการหลุดร่วง
ธาตุอาหารจะเข้าสู่พืชได้ในรูปสารละลาย (ปุ๋ยและธาตุอาหารต่างๆ) ผ่านทางระบบราก ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณรากฝอย ดูดซับแร่ธาตุส่งไปยังใบผ่านท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem) จากนั้นพืชจะนำแร่ธาตุต่างๆไปปรุงเป็นอาหารให้กับพืช เพื่อเลี้ยงทุกส่วนในต้นรวมทั้งผลผลิต ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่เกิดขึ้นในส่วนของใบจากนั้นพืชจะส่งอาหาร ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงส่งไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของลำต้น ตั้งแต่ใบ (ใบอ่อน),ดอก,ผล,ลำต้น ไปจนถึงราก ผ่านท่อลำเลียงอาหาร (Phloem)
โดยทุกกระบวนการในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารและสารอาหารของพืช ต้องใช้น้ำเป็นตัวนำพาทั้งสิ้น อีกทั้งน้ำก็เป็นอีกหนึ่งในธาตุอาหารที่พืชต้องการเมื่อแยกองค์ประกอบของน้ำ (H2O) ออกเป็น ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ส่วนธาตุอาหารที่จำเป็นต้องให้เพิ่มเติมในระยะที่พืชไม้ผลมีความต้องการมากขึ้นในระยะติดผล ขยายผล คือ ไนโตรเจน (N),แคลเซียม-โบรอน(Ca-B) และธาตุอาหาร ในกลุ่มที่จะเสริมประสิทธิภาพในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ แมกนีเซียม (Mg),สังกะสี(Zn),เหล็ก(Fe) ทองแดง(Cu)และแมงกานีส (Mn)
ดังนั้นในระยะของพืชไม้ผล ทีมีการติดผล-ขยายผล นี้ควรให้น้ำอย่างต่อเนื่อง รักษาความชื้นบริเวณรากฝอย อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้ง และให้ธาตุอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยในกลุ่มธาตุอาหารหลัก (ปุ๋ย) แนะนำเป็นสูตรที่มีตัวหน้าสูง ไนโตรเจน (N) หรือใช้สูตร เสมอร่วมกับปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 1:1 และให้ธาตุอาหาร ในกลุ่มของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ทั้งทางดินและทางใบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ สามารถแก้ปัญหาได้จริงและเกิดผลดีกับพืชในสวนที่ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้
ทางทีม-เกษตร มีข้อแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงผล-ขยายผลอย่างสมบูรณ์ ใช้ได้ผลดี
สูตรการบำรุงดอกจนถึงเก็บเกี่ยวทุเรียน
เมื่อทุเรียนออกดอก ติดผล เพื่อให้ทุเรียนมีลักษณะผล ขนาด น้ำหนัก สีสันของเนื้อ มีคุณภาพ หน้าที่ที่สำคัญที่สุดเป็นเรื่องของธาตุแคลเซียมและโบรอน ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ใบของทุเรียน มีการสังเคราะห์แสงที่ดี ส่วนธาตุที่จะสนับสนุนการทำงานของแคลเซียมและโบรอนก็คือ แมกนีเซียม
ช่วงที่ทุเรียนมีการพัฒนาผลตั้งแต่เล็กไปจนถึงเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะต้องใช้ธาตุอาหารที่กล่าวมาในรูปของคีเลท และเป็นรูปที่เกิดประโยชน์ได้รวดเร็วกับความต้องการของต้นทุเรียน โดยการให้ทางดินจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด การให้ทางใบหรือที่ผลทุเรียนก็เพื่อเสริมเพิ่มเติม ให้การพัฒนาของผลสมบูรณ์ขึ้น
จึงมีคำถามที่ว่า ธาตุแคลเซียม จะใช้แคลเซียมไนเตรท ธาตุแมกนีเซียมจะใช้แมกนีเซียมซัลเฟต หรือแมกนีเซียมไนเตรท ใส่ทางดินได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้ แต่ให้ผลไม่ดีนัก เพราะเหตุว่า เมื่อแคลเซียมไนเตรท หรือแมกนีเซียมซัลเฟต หรือแมกนีเซียมไนเตรท ละลายน้ำ แคลเซียมและแมกนีเซียมจะแยกตัวออกมา ถ้าในดินมีฟอสเฟตตกค้างในดินอยู่มาก ฟอสเฟตจะทำปฏิกริยากับแคลเซียมและแมกนีเซียม เกิดสารแคลเซียมฟอสเฟต และแมกนีเซียมฟอสเฟต เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้พืชใช้ธาตุแคลเซียมธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมไม่ได้ ทำให้ผลทุเรียนขาดแคลเซียมและแมกนีเซียมเพื่อพัฒนาผลทุเรียนให้เกิดคุณภาพที่ดี
การให้อาหารเสริมทางดิน ที.เค-ซอยล์ 2, ที.เค-ซอยล์ 5, ที.เค-ซอยล์ 6 อย่างละ 1 ลิตร ปุ๋ย 46-0-0 1 ก.ก. ปุ๋ย 15-15-15 1 ก.ก. ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นหรือราดบริเวณรากฝอย น้ำยา 200 ลิตร ทำได้ประมาณ 20 ต้น โดยให้ห่างกันประมาณ 20 วัน / ครั้ง
การให้อาหารเสริมทางใบ เพื่อพัฒนาให้ผลทุเรียนเจริญเติบโต ได้รูปทรง น้ำหนักดี เนื้อดี
โม-ฟรุท 300 ซีซี. หรือโมโนแคล 200 ซีซี. ที.เค-บูชเตอร์ 200 ซี.ซี. ดีไนเตรท 100 ซีซี.ซูเปอร์แอ็คชั่น 300 ซีซี. ( เป็นตัวนำธาตุอาหารเข้าทางเปลือกหรือผิวของผลทุเรียน ) ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นที่ผลของทุเรียนและในทรงพุ่ม พ่นห่างกันประมาณ 10-12 วัน/ครั้ง
สูตรนี้ให้หยุดพ่นก่อนทุเรียนแก่ประมาณ 20-30 วัน
สูตรทำให้ทุเรียนสุกเร็วกว่าปกติ
สูตรทำให้ทุรียนเก็บเกี่ยวเร็วขึ้นกว่าปกติ 10-15 วัน โดยปฏิบัติก่อนทุเรียนแก่เก็บเกี่ยวตามปกติ โดยพ่นธาตุก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ ประมาณ 15-20 วัน ใช้ดีไนเตรท 100 ซีซี. ปุ๋ย 46-0-0 300 กรัม ซูเปอร์แอ็คชั่น 300 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นที่ผลทุเรียนและภายในทรงพุ่ม
หมายเหตุ ปุ๋ย 46-0-0 ต้องใช้มิฉะนั้นจะทำให้เนื้อทุเรียนไม่เต็มพู และซูเปอร์แอ็คชั่น จะช่วยให้ดีไนเตรทแทรกซึมผ่านเปลือกทุเรียนได้อย่างรวดเร็ว ผลเล็กทุเรียนโดนละอองน้ำยาไม่มีผลต่อการสุกแก่ แต่จะทำให้มีการขยายขนาดของผลดีขึ้นอีก
วิธีการให้ธาตุอาหารทั้งทางดิน และทางใบที่กล่าวมาเป็นกรรมวิธีหลักในการปฏิบัติที่ให้ผลอยู่แล้ว หากเกษตรกร มีผลิตภัณฑ์ที่จะใช้เสริม หรือแทรก เติมแต่งให้ผลผลิตที่ท่านคิดว่าจะดีขึ้น อาจสงสัยว่าจะใช้ได้หรือไม่ สามารถคิดต่อสอบถามไปยังฝ่ายวิชาการของหจก. ทีม-เกษตร หรือส่งข้อความทางไลน์ไปยัง 081-811-2316 หรือ 086-658-1310
เกษตรกรท่านใด ต้องการให้ทางทีม-เกษตร ทำแปลงสาธิตในสวนทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง และสละ โปรดติดต่อ ทีม-เกษตร เพื่อทำการติดต่อถึงท่านดำเนินการต่อไป
เรามาทำความรู้จักกับยาจับใบยาเปียกใบพืช ( ต่อ )
ยาจับใบยาเปียกใบทำงานอย่างไร
ตัวโมเลกุลของยาจับใบยาเปียกใบ ก็เปรียบเสมือนตัวลูกกบหรือเรียกว่าลูกอ็อดนั่นแหละ ส่วนหัวของลูกอ็อดจะละลายได้ในพวกน้ำมัน หรือสารที่ละลายน้ำมันเป็นต้น และเป็นตัวที่ไม่เข้ากับน้ำ ส่วนทางหางของลูกอ็อด จะไม่ละลายในสารพวกน้ำมัน และเข้ากับน้ำได้ดี
ดังนั้นเมื่อตัวยาจับใบยาเปียกใบผสมกับน้ำ ส่วนหัวก็จะยื่นออกจากน้ำ ส่วนหางก็จะอยู่ในน้ำ ถ้าเราเพิ่มโมเลกุลของยาจับใบยาเปียกใบเข้าไปมากๆ ส่วนหางก็จะแทรกเข้าผิวหน้าของน้ำมากขึ้น ทำให้ความตึงผิวถูกทำลายและลดความตึงลง ถ้ามีการถูกทำลายผิวหน้าของน้ำมากขึ้นจะทำให้ความตึงผิวลดลง ดูเสมือนว่าทำให้น้ำที่กระทบพื้นผิววัตถุหรือพืชมีความเปียกมากขึ้นนั่นเอง
ผลของการลดแรงตึงผิว เราจะเห็นตัวอย่างง่ายๆจากหยดน้ำที่อยู่บนใบบัว หรือใบพืชที่มีผิวมัน ใบพืชจะไม่เปียกน้ำ เมื่อเราเติมจับใบยาเปียกใบลงไป จะเห็นว่าหยดของน้ำจะไหลลงสู่โคนของบนใบพืช แผ่ไปบนส่วนของพืชหรือบนผิวของใบพืชได้
แต่ถ้าเราใช้ยาจับใบยาเปียกใบ อัตราสูงเกินไปหยดของน้ำจะไหลหนีออกและไหลไปยังบริเวณที่ต่ำกว่า ส่วนใหญ่แล้วจะตกลงสู่พื้นดิน
ตัวทำของเหลว ( Emulsifiers )
ยาจับใบยาเปียกใบที่เราเรียกว่า ตัวทำของเหลว ( emulsifiers ) เมื่อนำไปรวมผสมกับสารน้ำมัน ก็จะทำให้น้ำมันละลายน้ำได้ พวกยากำจัดศัตรูพืชชนิดเข้มข้นจะใช้ผสมกับตัวทำละลาย ( solvent ) ก่อนแล้วทำให้ยากำจัดศัตรูพืชละลายน้ำได้โดยผสมกับตัวทำของเหลวลงไป ซึ่งมีตั้งแต่ชนิดเดียวหรือหลายชนิด แล้วแต่กรณี เมื่อนำยาเคมีกำจัดศัตรูพืชไปละลายน้ำก็จะเข้ากับน้ำได้ เพราะมีตัวที่ผสมกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ โดยเราจะเห็นเป็นสีขุ่นๆเกิดขึ้น จากยาเคมีชนิด อี.ซี. ( emulsifiable concentrate )
ยาจับใบ ( Sticker )
ยาจับใบเป็นตัวยาเกาะจับมีผลให้มีการเกาะติดบนใบพืชเพื่อป้องการการสูญเสียของสารตกค้างของยาเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชจาก ฝน น้ำค้าง การรดน้ำพืช จากการเสียดสีทางใบเป็นต้น
ในการใช้ยาจับใบในอัตราสูงเกินไป มันจะไปห่อหุ้มตัวยาเคมีกำจัดศัตรูพืชจนแน่น ทำให้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืชทำงานไม่ได้ เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเราผสมยาจับใบรวมลงไปสารละลายยาเคมีที่จะพ่นลงไปอีก ซึ่งตัวยาเคมีกำจัดศัตรูพืชบางผลิตภัณฑ์ได้ผสมตัวยาจับใบเรียบร้อยอยู่แล้ว จึงทำให้ตัวยาจับใบมากเกินไป
ยังมียาเคมีประเภทยาจับใบยาเปียกใบอีกหลายประเภทจะได้นำมาให้เป็นความรู้กับเกษตรกรและผู้สนใจทราบในโอกาสต่อไป
ทำความเข้าใจ ยาจับใบยาเปียกใบหรือสารจับใบสารเปียกใบที่เกษตรกรเรียกกัน ถ้าเรียกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของตัวยาหรือสาร ควรจะเรียก ตัวยาแผ่กระจายจับใบหรือสารแผ่กระจายจับใบ ซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษ sticker-spreader